แผนที่ - อำเภอบัวใหญ่ (Bua Yai)

อำเภอบัวใหญ่ (Bua Yai)
บัวใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา โดยถือเป็นอำเภอขนาดใหญ่ทางตอนเหนือซึ่งมีชุมทางที่มีทางรถไฟสองสาย ได้แก่ สายนครราชสีมา–หนองคาย และสายแก่งคอย–ลำนารายณ์–บัวใหญ่ มาบรรจบกัน

พื้นที่อำเภอบัวใหญ่เดิม มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบกระจัดกระจายอยู่ในเขตพื้นที่เป็นจำนวนมาก อาทิ บ่อไก่แก้วปรางค์ บ้านสีดา ที่อำเภอสีดา ปราสาทนางรำ ที่อำเภอประทาย ปรางค์กู่ที่บ้านกู่ ต.ดอนตะหนิน เครื่องภาชนะดินเผาพบที่บริเวณบ้านบัวใหญ่ กำไรสำลิดและไหหินพบที่บริเวณบ้านจาน เสมาหินทรายที่บ้านเสมาใหญ่ เทวรูปสำริดที่ขุดพบจากพื้นที่หลายแห่ง ภาชนะดินเผาบรรจุกระดูก ฝังเรียงรายทับซ้อนลงไปเป็นชั้น ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเคยขุดพบที่บ้านหนองไอ้แหนบ บ้านหญ้าคา และหลังสุดขุดพบไหหรือหม้อดินเผาที่บรรจุกระดูกเป็นจำนวนมากที่เนินดินท้ายหมู่บ้านกระเบื้อง เมื่อ พ.ศ. 2545 ซึ่งมีภาชนะบรรจุกระดูกนับพันไห เจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการขาดของทางราชการ ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าน่าจะมีอายุราว 1,500 ปี เป็นประเพณีฝังศพครั้งที่สอง โดยครั้งแรกจะนำศพไปฝังก่อน ภายหลังจะทำการขุดศพมาทำพิธีกรรมอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงนำโครงกระดูกบรรจุลงหม้อดินเผาฝังบรรจุในสุสาน หลักฐานทั้งหลายเหล่านี้ทำให้น่าเชื่อว่าพื้นที่อำเภอบัวใหญ่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุไม่น้อยกว่า 4,000 ปีมาแล้ว ร่องรอยทางประวัติศาสตร์เหล่านี้คือแหล่งความรู้ที่ทำให้ประชาชนอำเภอบัวใหญ่ในปัจจุบันสืบสานรับวัฒนธรรมเหล่านั้น มาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีถ่ายทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน

ในยุครัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ราว พ.ศ. 2390 ในสมัยพระกำแหงสงคราม(แก้ว) เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ตั้งด่านเพื่อระวังศัตรูตรวจตรารักษาความสงบ และทำหน้าที่เก็บส่วยสาอากร (ภาษี) มีด่านทองหลาง ด่านชวน ด่านจาก ด่านกระโทก ด่านขุนทด โดยเฉพาะ “ด่านนอก” เป็นด่านนอกสุดของเมืองนครราชสีมา เพื่อดูแลเขตชายเมือง “ด่านนอก” ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายที่อยู่ในเขตพระราชอาณาจักร ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ ถัดขึ้นไปทางเหนือนั้นถือเป็นเมืองประเทศราชขึ้นต่อนครเวียงจันทน์ ที่ทำการของ “ด่านนอก” ตั้งอยู่ที่บ้านทองหลางใหญ่ บนเนินดินริมห้วยกระเบื้อง หลักด่านด้านเหนือสุดของด่านนอก อยู่ที่ริมห้วยเอก ที่หมู่บ้านหลักด่าน

พ.ศ. 2417 เกิดศึกฮ่อเข้ามารุกรานเมืองหนองคาย ทุกหัวเมืองระดมกำลังป้องกันเขตเมืองของตน เมืองนครราชสีมาได้ส่ง “ขุนณรงค์” คุมกำลังพลจาก “ด่านชวน” มารักษาการณ์ที่ “ด่านนอก” นับเป็นนายด่านคนสุดท้าย

* ราว พ.ศ. 2429 มีการปรับปรุงระบบราชการ “ด่านนอก” ได้ยกฐานะขึ้นเป็น “แขวงด่านนอก” และย้ายสถานที่ทำการแขวงมาอยู่ที่บ้านทองหลางน้อย แขวงมีฐานะเช่นเดียวกับอำเภอ

* พ.ศ. 2440 หรือ ร.ศ. 116 ทางการได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 แขวงด่านนอกได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ ชื่ออำเภอ “นอก” ขณะนั้นมณฑลนครราชสีมา มี 10 อำเภอ แต่ที่ทำการยังใช้ที่บ้านทองหลางน้อยเช่นเดิม

* พ.ศ. 2448 ขุนพลราษฎรบำรุง เป็นนายอำเภอ ได้ยายที่ทำการอำเภอจากบ้านทองหลางน้อยมาตั้งที่ริมบึงบัวใหญ่ (บริเวณที่เป็นที่ตั้งสำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขาอำเภอบัวใหญ่ ในขณะนี้) เพราะมีชัยภูมิที่เหมาะสมมีเส้นทางหลวง (ทางเกวียน)สายนครราชสีมาไปยังมณฑลอุดรตัดผ่าน และมีโรงโทรศัพท์สำหรับการติดต่อราชการตามแนวเส้นทางหลวง แต่ยังคงใช้ชื่อ “อำเภอนอก” อยู่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าเรื่องเที่ยวในที่ต่าง ๆ คราวตรวจราชการ ที่มลฑลนครราชสีมา – มณฑลอุดร – มลฑลร้อยเอ็ด ความว่า

“ที่บ้านบัวใหญ่นี้ เพิ่งย้ายที่ว่าการอำเภอนอก จากตำบลทองหลางใหญ่ มาตั้งใหม่เมื่อเดือนเมษายน ศก 125 นี้เอง เพราะที่นี่เป็นย่านกลางในการไปมาระหว่างที่ต่าง ๆ และใกล้ทางหลวง ซึ่งเดินทางไปมณฑลอุดร ที่ว่าการอำเภอที่ตั้งใหม่อยู่บนเนินสูง เป็นทำเลเหมาะดี เวลานี้มีหมู่บ้านอยู่ 3 หมู่บ้าน ราษฎร 500 คน มีร้านขายของคืออ้อยเป็นต้น อยู่ 4 – 5 แห่ง แล้วต่อไปราษฎรจะยกมาอยู่อีกมาก การหาเลี้ยงชีพของราษฎรในอำเภอนี้ ส่วนที่ทำกินและซื้อ – ขายกันเองในหมู่บ้าน คือทำนา ทำไร่ ทำไร่ฝ้าย ทำไหม การที่ทำหำหรับขายไปที่อื่น คือ หีบอ้อย ทำน้ำอ้อย หม้อ ผสมโค และเลี้ยงสุกรเป็นมากกว่าอย่างอื่น จำนวนราษฎรทั้งอำเภอนี้ 20,000 คน" นับเป็นเอกสารชิ้นสำคัญทำให้เห็นภาพของอำเภอบัวใหญ่เมื่อร้อยปีก่อน

* พ.ศ. 2455 เปลี่ยนชื่อ จากอำเภอ “นอก” เป็นอำเภอ “บัวใหญ่” ตามชื่อหมู่บ้าน และบึงบัวใหญ่

* พ.ศ. 2481 นายอำเภอขุนวัฒน์วิจารณ์ ดำริจะย้ายที่ว่าการอำเภอมายังตลาดเพ็ดเฟื้อย เพราะตลาดเพ็ดเฟื้อยเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นชุมชนการค้า เพราะเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟบัวใหญ่และมีทางหลวงแผ่นดินเชื่อมไปจังหวัดชัยภูมิ เป็นแหล่งรวมผลิตผลทางการเกษตร เพื่อส่งเข้าไปยังตลาดเมืองนครราชสีมา และไปยังกรุงเทพมหานคร มีโรงสีไฟขนาดใหญ่เกิดขึ้น มีฉางข้าวขนาดใหญ่ของแม่ริ้ว แม่ฉ่ำ ตั้งอยู่ย่านสถานีรถไฟเพื่อรับซื้อข้าวเปลือกส่งลำเลียงเข้ากรุงเทพฯ ผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ จากชัยภูมิ จัตุรัส ภูเขียว พุทไธสง หลั่งไหลเข้ามาสู่บัวใหญ่ พ่อค้าและเกษตรกรที่นำผลผลิตมาขายที่บัวใหญ่ จะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคกลับคืนไป ทำให้มีร้านขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภคเกิดขึ้นมากมาย พ่อค้าชาวบัวใหญ่ได้รวบรวมทุนเพื่อจัดซื้อที่ดินยกให้ทางราชการ จำนวน 34 ไร่ แต่ได้ทำการย้ายเพียงสถานีตำรวจ พร้อมบ้านพักตำรวจ 4 หลัง และสุขศาลา 1 หลัง มาก่อสร้างบนที่ดินแปลงดังกล่าว ส่วนที่ว่าการอำเภอยังขาดงบประมาณ จึงชะงักไปหลังจากนายอำเภอขุนวัฒน์วิจารณ์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองนครราชสีมา 
แผนที่ - อำเภอบัวใหญ่ (Bua Yai)
ประเทศ - ไทย
สกุลเงินตรา / Language  
ISO สกุลเงินตรา สัญลักษณ์ เลขนัยสำคัญ
THB บาท (Thai baht) ฿ 2
ISO Language
TH ภาษาไทย (Thai language)
Neighbourhood - ประเทศ  
  •  มาเลเซีย 
  •  ลาว 
  •  สาธารณรัฐเขมร 
  •  เมียนมา